นักวิทยาศาสตร์ของโลก 10 ประวัตินักวิทยาศาสตร์โลก
เนื่องใน วันวิทยาศาสตร์ มาทำความรู้จัก นักวิทยาศาสตร์ของโลก และ ประวัตินักวิทยาศาสตร์โลก กันเลย โดยเรามี ชื่อนักวิทยาศาสตร์ ที่สำคัญจำนวน 10 คนมาแนะนำให้รู้จัก
นักวิทยาศาสตร์ในโลกนี้มีมากมาย แต่มีไม่กี่คนนักหรอกที่ประสบความสำเร็จจนมีชื่อเสียงไปทั่วโลก และสร้างความเปลี่ยนแปลงจนคนรุ่นหลังต้องขอบคุณสิ่งประดิษฐ์ที่พวกเขาคิดค้นขึ้น ซึ่งกว่าที่พวกเขาจะมีชื่อเสียงเป็นที่นับถือจากผลงาน หลาย ๆ คนก็อาจต้องเสียสละหรือผ่านความยากลำบากมาก่อนโดยที่เราไม่คาดคิด ซึ่งวันนี้กระปุกดอทคอมก็ได้รวบรวมเรื่องราวของนักวิทยาศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จ 10 คนมาฝากกัน ...ตามมาอ่านเรื่องราวของพวกเขากันเลย
1. เซอร์ไอแซก นิวตัน (Sir Isaac Newton)
แน่นอนว่าในบรรดานักวิทยาศาสตร์เก่ง ๆ จะขาดนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษอย่าง เซอร์ไอแซก นิวตัน ไม่ได้เด็ดขาด โดย เซอร์ไอแซก นิวตัน เกิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1642 (พ.ศ. 2185) และเสียชีวิตลงขณะอายุ 46 ปี ในวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1727 หรือ พ.ศ. 2270 (ตามปฏิทินจูเลี่ยนของ จูเลียส ซีซาร์) ซึ่งเขาเป็นอัจฉริยะที่เก่งรอบด้านทั้งในฐานะนักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักปรัชญา นักเล่นแร่แปรธาตุ และนักเทววิทยา โดยผลงานเด่นที่สุดของเขาที่คนรู้จักกันดีที่สุดก็คือ กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันและกฎแรงโน้มถ่วงสากล ที่เขาคิดขึ้นมาได้จากการสังเกตผลแอปเปิ้ลที่ตกจากต้นนั่นเอง
2. หลุยส์ ปาสเตอร์ (Louis Pasteur)
หลุยส์ ปาสเตอร์ เป็นนักเคมีและนักจุลชีววิทยาชาวฝรั่งเศส เกิดเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1822 (พ.ศ. 2365) และเสียชีวิตลงในวัย 72 ปี เมื่อวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 1895 (พ.ศ. 2438) ซึ่งเขาคนนี้ถือว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ช่วยชีวิตผู้คนมากที่สุดคนหนึ่งเลยทีเดียว เพราะเป็นผู้คิดค้นวิธีรักษาโรคต่าง ๆ มากมาย เช่น โรคพิษสุนัขบ้าและโรคแอนแทร็คซ์ ยิ่งไปกว่านั้น ยังช่วยทำให้เราสะดวกสบายมากขึ้น จากการคิดค้นวิธีพาสเจอร์ไรซ์ เพื่อฆ่าเชื้อโรคและถนอมอาหารให้เก็บได้นานขึ้นอีกด้วย
3. กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei)
นักวิทยาศาสตร์ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของฉายา "บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ยุคใหม่" คนนี้ เกิดที่ประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564 (พ.ศ. 2107) และมีชีวิตอยู่จนอายุ 77 ปี จนกระทั่งเสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1642 (พ.ศ. 2185) โดยเขาเป็นผู้ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับแนวคิดของวิทยาศาสตร์ยุคก่อนอย่างสิ้นเชิง ด้วยการยึดมั่นในทฤษฎีของตัวเองว่าดาวเคราะห์เป็นฝ่ายหมุนรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งขัดกับความเชื่อของชาวคริสต์ในสมัยก่อนที่สนับสนุนทฤษฎีของอริสโตเติลที่เชื่อว่าพระอาทิตย์และดวงจันทร์เป็นฝ่ายหมุนรอบโลก จนทำให้เขาถูกห้ามไม่ให้สอนนักเรียนของเขาเกี่ยวกับทฤษฎีนี้อีก มิฉะนั้นจะถูกจับเผาทั้งเป็น เขาจึงได้ประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ขึ้นมาด้วยตัวเองเพื่อศึกษาเพิ่มเติมและพิสูจน์ว่าทฤษฎีของเขาเป็นความจริงในที่สุด
นักวิทยาศาสตร์ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของฉายา "บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ยุคใหม่" คนนี้ เกิดที่ประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564 (พ.ศ. 2107) และมีชีวิตอยู่จนอายุ 77 ปี จนกระทั่งเสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1642 (พ.ศ. 2185) โดยเขาเป็นผู้ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับแนวคิดของวิทยาศาสตร์ยุคก่อนอย่างสิ้นเชิง ด้วยการยึดมั่นในทฤษฎีของตัวเองว่าดาวเคราะห์เป็นฝ่ายหมุนรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งขัดกับความเชื่อของชาวคริสต์ในสมัยก่อนที่สนับสนุนทฤษฎีของอริสโตเติลที่เชื่อว่าพระอาทิตย์และดวงจันทร์เป็นฝ่ายหมุนรอบโลก จนทำให้เขาถูกห้ามไม่ให้สอนนักเรียนของเขาเกี่ยวกับทฤษฎีนี้อีก มิฉะนั้นจะถูกจับเผาทั้งเป็น เขาจึงได้ประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ขึ้นมาด้วยตัวเองเพื่อศึกษาเพิ่มเติมและพิสูจน์ว่าทฤษฎีของเขาเป็นความจริงในที่สุด
4. มารี กูรี (Marie Curie)
มารี กูรี เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวโปแลนด์ เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1867 (พ.ศ. 2410) และเสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ปี ค.ศ. 1934 (พ.ศ. 2477) ในวัย 66 ปี ซึ่งเรียกได้ว่าเธอเป็นผู้หญิงเก่งแห่งยุคคนหนึ่งเลยทีเดียว เพราะในขณะที่ผู้หญิงส่วนใหญ่ในยุคสมัยของเธอไม่ได้รับการศึกษาหรือโอกาสเท่าเทียมกับผู้ชายนัก เธอกลับมุ่งมั่นศึกษาค้นคว้าจนกระทั่งค้นพบรังสีเรเดียมที่สามารถยับยั้งการขยายตัวของโรคมะเร็งได้ในที่สุด จนเป็นผลให้เธอได้รับรางวัลโนเบล ยิ่งไปกว่านั้น นอกจากความเฉลียวฉลาดของเธอแล้ว การอุทิศตัวให้สังคมของเธอก็ยังทำให้หลาย ๆ คนประทับใจอีกด้วย เพราะเธอเลือกที่จะไม่จดสิทธิบัตรสิ่งที่เธอค้นพบซึ่งจะทำให้เธอกลายเป็นเศรษฐีได้สบาย ๆ แต่กลับเลือกอุทิศตัวเพื่อส่วนรวมและค้นคว้าต่อไปจนกระทั่งเสียชีวิตจากการใกล้ชิดรังสีเรเดียมมากเกินไปในที่สุด
มารี กูรี เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวโปแลนด์ เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1867 (พ.ศ. 2410) และเสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ปี ค.ศ. 1934 (พ.ศ. 2477) ในวัย 66 ปี ซึ่งเรียกได้ว่าเธอเป็นผู้หญิงเก่งแห่งยุคคนหนึ่งเลยทีเดียว เพราะในขณะที่ผู้หญิงส่วนใหญ่ในยุคสมัยของเธอไม่ได้รับการศึกษาหรือโอกาสเท่าเทียมกับผู้ชายนัก เธอกลับมุ่งมั่นศึกษาค้นคว้าจนกระทั่งค้นพบรังสีเรเดียมที่สามารถยับยั้งการขยายตัวของโรคมะเร็งได้ในที่สุด จนเป็นผลให้เธอได้รับรางวัลโนเบล ยิ่งไปกว่านั้น นอกจากความเฉลียวฉลาดของเธอแล้ว การอุทิศตัวให้สังคมของเธอก็ยังทำให้หลาย ๆ คนประทับใจอีกด้วย เพราะเธอเลือกที่จะไม่จดสิทธิบัตรสิ่งที่เธอค้นพบซึ่งจะทำให้เธอกลายเป็นเศรษฐีได้สบาย ๆ แต่กลับเลือกอุทิศตัวเพื่อส่วนรวมและค้นคว้าต่อไปจนกระทั่งเสียชีวิตจากการใกล้ชิดรังสีเรเดียมมากเกินไปในที่สุด
5. อัลเบิร์ต ไอสไตน์ (Albert Einstein)
คงไม่มีใครไม่รู้จักนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันเชื้อสายยิวซึ่งเกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1879 (พ.ศ. 2422) และเสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1955 (พ.ศ. 2498) ในขณะที่มีอายุ 77 ปี คนนี้ ซึ่งถึงแม้เขาจะเป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ที่คนทั่วโลกรู้จักกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน แต่ที่จริงแล้วเขาเคยเป็นเด็กที่มีปัญหาเรื่องการเรียนรู้มาก่อน โดยเขาไม่สามารถพูดได้จนกระทั่งอายุ 3 ขวบ และอ่านหนังสือออกเมื่อ 8 ขวบ จนไม่มีใครคาดคิดว่าเขาจะกลายเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จได้มากขนาดที่คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ รวมถึงสร้างทฤษฎีใหม่ ๆ มากมาย โดยเฉพาะผลงานเด่นเช่นทฤษฎีทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษที่อธิบายว่าเราทุกคนจะมองเห็นอัตราความเร็วแสงได้ในระยะเท่ากัน และทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปซึ่งเป็นทฤษฎีที่อธิบายกฎแรงโน้มถ่วงในเชิงเรขาคณิต ซึ่งทำให้นักวิชาการหลายคนจับตามองจนได้รับรางวัลโนเบลในที่สุด
คงไม่มีใครไม่รู้จักนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันเชื้อสายยิวซึ่งเกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1879 (พ.ศ. 2422) และเสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1955 (พ.ศ. 2498) ในขณะที่มีอายุ 77 ปี คนนี้ ซึ่งถึงแม้เขาจะเป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ที่คนทั่วโลกรู้จักกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน แต่ที่จริงแล้วเขาเคยเป็นเด็กที่มีปัญหาเรื่องการเรียนรู้มาก่อน โดยเขาไม่สามารถพูดได้จนกระทั่งอายุ 3 ขวบ และอ่านหนังสือออกเมื่อ 8 ขวบ จนไม่มีใครคาดคิดว่าเขาจะกลายเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จได้มากขนาดที่คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ รวมถึงสร้างทฤษฎีใหม่ ๆ มากมาย โดยเฉพาะผลงานเด่นเช่นทฤษฎีทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษที่อธิบายว่าเราทุกคนจะมองเห็นอัตราความเร็วแสงได้ในระยะเท่ากัน และทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปซึ่งเป็นทฤษฎีที่อธิบายกฎแรงโน้มถ่วงในเชิงเรขาคณิต ซึ่งทำให้นักวิชาการหลายคนจับตามองจนได้รับรางวัลโนเบลในที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น