คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
1. สำเร็จการศึกษาทางสาขาวิชาแพทย์ศาสตร์
2. ขยันสนใจในการศึกษาหาความรู้ทางวิทยาการแพทย์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี
3. มีสุขภาพสมบูรณ์ ทั้งร่างกาย และจิตใจไม่พิการหรือทุพพลภาพ ปราศจากโรค
4. สามารถอุทิศตนยอมเสียสละเวลา และความสุขส่วนตัว เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นที่เดือดร้อนจากการ เจ็บป่วย มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่รังเกียจผู้เจ็บป่วย มีความเมตตา และมีความรักในเพื่อนมนุษย์มีความเสียสละที่จะเดินทางไปรักษาพยาบาลผู้คนในชุมชนทั่วประเทศ
5. มีมารยาทดี สามารถเข้ากับบุคคลอื่นได้ทุกระดับมีความอดทน อดกลั้น และมีความกล้าหาญ
6. มีความซื่อสัตย์ในวิชาชีพของตน มีคุณธรรมและจริยธรรมทางการแพทย์ ไม่ใช้ความรู้ทางวิชาการของตนไปหลอกลวงหรือทำลายผู้อื่น
แนวทางในการศึกษา
ผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้ ควรสำเร็จหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรอื่นที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่าและสามารถสอบผ่านวิชาต่างๆ ในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาคือวิสามัญ 1 คณิตศาสตร์ กข. เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา ภาษาอังกฤษ กข. และความถนัดทางการแพทย์ หรือเคยช่วยปฏิบัติงานในโรงพยาบาลของรัฐครบตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ ประมาณ อย่างน้อย 10 วัน ตลอดจนการสอบสัมภาษณ์และการตรวจร่างกาย เมื่อผ่านการทดสอบจึงมีสิทธิเข้าศึกษาแพทย์โดยมีสถาบันที่เปิดสอนวิชาการแพทย์ระดับปริญญาหลายแห่งในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย เช่น มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น ผู้ที่จะเรียนแพทย์จะต้องมีฐานะทางการเงินพอสมควร เพราะค่าใช้จ่ายในการเรียนวิชาแพทย์ค่อนข้างสูงและใช้เวลานานกว่าการเรียนวิชาชีพอื่นๆ รวมทั้งต้องเสียค่าบำรุงการศึกษา ค่าตำราวิชาการแพทย์และ ค่าอุปกรณ์ต่างๆ (ไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาทเศษต่อคน)
หลักสูตรวิชาการแพทย์ระดับปริญญาตรีตามปกติใช้เวลาเรียน 6 ปี ในสองปีหลักสูตร การเรียนจะเน้นหนักด้านวิทยาศาสตร์ทั่วไปที่เป็นพื้นฐานสำคัญ ต่อจากนั้นจึงเรียนต่อวิชาการแพทย์โดยเฉพาะอีก 4 ปี เมื่อสำเร็จได้รับใบอนุญาตประกอบเวชกรรมของแพทยสภา มีสิทธิประกอบอาชีพแพทย์ได้ตามกฎหมาย โดยมีโอกาสเลือกสายงานได้ดังนี้1. เป็นแพทย์ฝ่ายรักษา2. เป็นแพทย์ฝ่ายวิจัย
ข้อดี ข้อเสียของอาชีพแพทย์
ข้อดี
-โลกทัศน์กว้างเพราะได้พบปะพูดคุยกับคนหลายอาชีพ (คล้ายคนขับ Taxi ยังไงไม่รู้แฮะ)
-งานที่ทำมี 'คุณค่า' ในตัวของมันเอง คือได้ช่วยเหลือผู้ป่วย
-'ท้าทาย' มีปริศนาใหม่มาให้ขบคิดทุกวัน ว่าผู้ป่วยไม่สบายเพราะอะไร จะ 'สืบ' ยังไงถึงจะรู้ (คนแต่งเรื่องนักสืบเชอร์ลอค โฮล์ม เป็นหมอด้วยนะ จะบอกให้)
-เป็นที่พึ่งแก่ญาติพี่น้อง และเพื่อนฝูงรวมไปถึงญาติของเพื่อนฝูงยามที่เจ็บไข้ได้ป่วย
-เห็นสัจธรรม 'กับตา' ตัวเองว่าเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นของธรรมดาจริงๆ มันเกิดขึ้นอยู่ทุกๆวัน ไม่มีวันหยุด และไม่เลือกเวลา
-ทดแทนคุณพ่อแม่ โดยทำให้ท่านมีความสุข เพราะท่านจะภูมิใจที่มีลูกเป็นแพทย์ แม้ว่าจะไม่เข้าใจว่าภูมิใจอะไรนักหนา(อันนี้ยกเว้นพ่อแม่ที่เป็นหมอ หรือที่เป็นใหญ่เป็นโตในสาขาต่างๆ)
-ไปทำอาชีพอื่นเล่นๆแก้เซ็งได้ เกือบทุกอาชีพ: เป็นนักวิทยาศาสตร์ เป็นนักธุรกิจ เป็นนักลงทุน(เล่นหุ้น) เป็นนักเขียน เป็นนักร้อง เป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์ เป็นกัปตันขับเครื่องบิน เป็นนักเรียกร้องประชาธิปไตย เป็นส.ส. เป็นส.ว. เป็นรัฐมนตรี หรือแม้แต่ผู้นำประเทศ ฯลฯ (มีตัวตนจริงๆทั้งนั้น) แต่คนอาชีพอื่นมาเป็นแพทย์ไม่ได้
-ถ้าเป็นผู้หญิงแต่งงานแล้วก็ไม่ต้องใช้ 'นาง' นำหน้า ใช้ 'แพทย์หญิง' แทน
ข้อเสีย
-เรียนนาน
-งานหนัก (เป็นส่วนใหญ่)
-รักคุด (ไม่ค่อยมีเวลา, ถูกแฟนทิ้งกันบ่อยๆ)
-สุดเลอะ (เสี่ยงต่อการสัมผัสเลือด ปัสสาวะ อุจจาระ เสมหะ และ 'อ้วก' ของผู้ป่วย)